Tuesday, August 7, 2007

เราเป็นได้แค่ผู้บริโภคหรือเราสามารถเป็นได้มากกว่านั้น


ครับผู้อ่านพอจะคิดได้ กับหัวข้อของบทนี้ แน่นอนครับเราสามารถเป็นได้มากกว่าการเป็นผู้บริโภคอย่างเดียว และอีกเช่นกัน เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ในยุคปัจจุบันนี้ที่จะหนีการบริโภคนิยมไป การที่มนุษย์เราเป็นผู้รู้จักเลือก รู้จักคิด รู้จักคัดสรรค์ และการเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาดที่ดีนั้น เป็นสิ่งที่ดี แต่ในเวลาเดียวกันเราก็สามารถเป็นได้มากกว่านั้นด้วย มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถพัฒนาไปได้มากกว่านั้นด้วย มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถพัฒนาไปได้อย่างไม่สิ้นสุด คนสมัยโบราณ การทำอะไรด้วยตัวเอง มีความหมายมากกว่าการจ้างให้คนอื่นเขาทำ การทำด้วยตัวเองหรือร่วมกันทำ จะมีมิติของทางจิตใจประทับมาด้วยในตัวตนของแต่ละคน เช่น การทำอาหารทานกันเองในครอบครัวช่วยสร้างความสัมพันธ์ได้ในครอบครัว แต่การใช้เงินตราแทนการทำกิจกรรมของตนเอง หรือร่วมกันในบางอย่างทำให้เราขาดมิติทางใจเกิดขึ้น หรือการใช้เงินตราและการครอบครองวัตถุเป็นส่วนที่ทำให้ตัวเรารู้สึกมีอำนาจขึ้น หรือมีตัวตนเพิ่มขึ้นมาได้กระนั้นหรือ นี่คงเป็นคำถามที่น่าสนใจอยู่บ้าง การสวมใส่ชุดที่ดาราดังสวมใส่ตามโฆษณา ทำให้เรารู้สึกยกระดับตัวตนของเราขึ้นมาได้บ้าง บุคคลจะรู้สึกว่าเพิ่มพูนขึ้นหรือได้สถานะภาพใหม่เพียงแต่ซื้อด้วยเงินตราในยุคบริโภคนิยม ถ้าจะมองในแง่ร้ายหน่อย จะถือได้ไหมว่า “การบริโภคนิยมกำลังจะกายเป็นศาสนาใหม่ไปแล้ว”

ไม่มีสังคมใดไม่มีศาสนา อะไรที่เกี่ยวกับมนุษย์มากพอ ก็ต้องเกี่ยวกับศาสนาไปด้วย อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์คือ สัตว์ที่มีศาสนา ก็ได้ ไม่ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพียงใด มนุษย์ก็ยังต้องการศาสนาอยู่นั่นเอง แต่ทัศนะของศาสนาลึกๆ แล้วเรารู้ว่าไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่มนุษย์นั้นปรารถนาที่จะมีตัวตนคงที่ยั่งยืน แต่เมื่อรู้สึกลึกๆว่าไม่มีตัวตนใดๆ จะให้ยึดถือได้ ก็เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงขึ้นมา ในด้านหนึ่งจึงยิ่งพยายามไขว่คว้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมายึดให้แน่นขึ้น และแน่นอนว่าย่อมเป็นสิ่งซึ่งดูยั่งยืนมั่นคง พระเจ้า ศาสนา ประเทศชาติ หรือระบอบคอมมิวนิสต์ในสมัยหนึ่ง อาจสนองความรู้สึกนี้ได้ไม่มากก็น้อย ดังกล่าวแล้วข้างต้น ลึกๆแล้วสิ่งที่ทำให้มนุษย์เรามีความรู้สึกที่ไม่มั่นคงนั่นก็ คือ การกดความรู้สึกนี้ไว้ให้อยู่ในจิตไร้สำนึกเสีย หรือปฏิเสธความรู้สึกดังกล่าวตามหลักจิตวิทยา สิ่งใดที่ถูกกดเอาไว้ในจิตไร้สำนึก จะผุดขึ้นมาสู่จิตสำนึกในรูปลักษณ์ใหม่ที่กลายสภาพหรือบิดเบี้ยวในทำนองเดียวกัน ความรู้สึกหรือสงสัยว่าตัวตนไม่มีอยู่จริงนี้ เมื่อถูกกดเอาไว้ก็จะผุดขึ้นมาเป็นอาการความรู้สึกไม่มั่นคง ง่อนแง่น คับข้อง กระวนกระวาย ซึ่งเรียกว่า “ความรู้สึกพร่อง” ดังที่กล่าวมาแล้วในบทก่อน ความรู้สึกดังกล่าวคอยรบกวนจิตใจเสมอ เพราะทำให้รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติ ที่ขาดหายไป ทำให้จิตไม่สงบสุข คอยแต่จะหาสิ่งที่มาทำให้ชีวิตมั่นคงเต็มอิ่ม ขณะเดียวกันเมื่อไม่ยอมรับว่าตัวตนไม่มีอยู่จริง จิตก็ยิ่งดิ้นรนหาทางทำให้ตัวตนนั้นจริงขึ้นมาให้ได้ ด้วยการไปยึดอะไรบางอย่างมาเป็นตัวตน หรือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมารองรับค้ำจุนภาพตัวตน นี่เป็นคำกล่าวทัศนะของ “เดวิด ลอย” (นักจิตวิทยาคนสำคัญคนหนึ่ง)

ในทัศนะของ เดวิด ลอย ความรู้สึกพร่องนี้เองเป็นแรงผลักดันสำคัญอย่างยิ่ง ที่ทำให้มนุษย์แสวงหาศาสนา และถึงแม้ในปัจจุบันศาสนาจะถูกลดความสำคัญลงบ้าง ก็เพราะมีสิ่งอื่นมาทำหน้าที่ศาสนาแทน นี้คือคำตอบว่า ทำไมผู้คนในยุคสมัยใหม่ จึงยึดถือชาติหรือบริโภคนิยมราวกับเป็นศาสนาหนึ่ง เดวิด ลอยชี้ว่า คนในปัจจุบัน เข้าหาชาติและบริโภคนิยม ด้วยเหตุผลเดียวกับที่คนสมัยก่อนรวมทั้งเวลานี้ เข้าหาศาสนา นั่นคือเพื่อบรรเทาความรู้สึกพร่องคับข้องไม่สมหวังเต็มอิ่มในตัวตน ซึ่งเป็นความรู้สึกไม่มั่นคงพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ ผู้คนยึดถือชาติมิใช่แค่เป็นที่ยึดเหนี่ยวปกป้องภัยเท่านั้น หากยังเพราะคิดว่า การเอาตนไปอิงไว้กับชาติ อันเป็นสิ่งที่ดูยิ่งใหญ่มั่นคงนั้น จะช่วยให้ตนเกิดความรู้สึกมั่นคงตามไปด้วย หรือให้ความรู้สึกที่ลึกไปกว่านั้นคือรู้สึกว่าตัวตนมีจริงด้วย ส่วนบริโภคนิยมนั้นก็อธิบายว่าความรู้สึกพร่องที่รบกวนจิตใจนั้น เป็นเพราะยังมีไม่พอ ดังนั้นจึงต้องแสวงหามาไว้ในครอบครองให้มาก เพื่อชีวิตจะได้เต็มอิ่ม ขณะเดียวกัน การยึดติดในวัตถุโภคทรัพย์ ก็เป็นความพยายามที่จะหาฐานรองรับตัวตน ที่มีลักษณะเที่ยงแท้มั่นคง เพื่อทำให้ตัวตนเป็นจริงมากขึ้น แม้แต่เงินก็มีนัยลึกซึ้งทางจิตใจเช่นกัน เพราะมันเป็นเครื่องหมายของความอมตะ การไปยึดถือเงินเป็นตัวตนย่อมทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนนั้นจริงมากขึ้น นี่เป็นแนวคิดตามหลักจิตวิทยาของการหาสิ่งทดแทนยึดเหนี่ยวของ เดวิด ลอย

อย่างไรก็ตามถึงที่สุดแล้ว ตามทัศนะของท่าน พระไพศาล วิสาโล กล่าวไว้อย่างน่าฟังและน่าคิดที่ว่า “ชาตินิยมและบริโภคนิยม ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ทางจิตวิญญาณลึกๆได้จริง เพราะไม่สามารถทำให้ผู้คนเกิดความมั่นใจว่าตัวของตนนั้นมีอยู่จริงไม่ จึงไม่สามารถบรรเทาความรู้สึกพร่องคับข้องใจได้ เพราะไม่ว่าชาติ หรือทรัพย์สิน เงินทอง ก็ล้วนเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน ไม่ใช่ตัวตน และไม่สามารถมายึดถือเป็นตัวตนได้ การยึดเอาสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน หรือยึดถือสิ่งซึ่งไม่อาจยึดถือได้ จึงรังแต่จะทำให้ผิดหวังและเกิดความทุกข์ยิ่งขึ้น ดังนั้นถึงแม้ผู้คนจะยึดถือชาตินิยมและบริโภคนิยมดังเหมือนศาสนาหนึ่ง และแม้ชาตินิยมและบริโภคนิยมจะทำหน้าที่ดังศาสนาก็ตามที สามารถแก้ปัญหาของมนุษย์ได้หลายเรื่อง แต่เมื่อมาถึงปัญหาตัวตนในระดับที่ลึกซึ้งลงไปแล้ว มันไม่สามารถทำหน้าที่ศาสนาได้อย่างแท้จริง ทำได้อย่างมากเพียงระงับความรู้สึกพร่องคับข้องใจไปชั่วคราวเท่านั้น”

พระไพศาล วิสาโล ยังกล่าวไว้อีกว่า “แม้ว่าบริโภคนิยมจะไม่สามารถแทนที่ศาสนาได้ เพราะไม่สามารถขจัดความทุกข์ในระดับจิตวิญญาณลึกๆ ของผู้คนได้ แต่อิทธิพลอันมหาศาลมากของการบริโภคนิยม ที่สามารถเบียดขับศาสนาให้หดตัวและถอยร่น มาอยู่ในมุมเล็กๆ ของชีวิตและสังคมได้ หาไม่ก็ครอบกลืนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริโภคนิยม หรือเป็นร่างทรงของมันเท่านั้น ทุกวันนี้บริโภคนิยมได้แพร่ขยายจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และจิตใจของผู้คนทั่วทั้งโลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆไปแล้ว ยิ่งมีเครือข่ายดาวเทียมเป็นเครื่องมือด้วยแล้ว ศาสนาบริโภคนิยมก็สามารถประกาศลัทธิไปทั่วทุกมุมโลกแม้ในพื้นที่ ที่เข้าไปไม่ถึงได้ ด้วยเหตุนี้ หากต้องการให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากการเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาด สำนึกถึงพลังของตนเอง หรือปัญญาของตนเอง หรือคำนึงถึงธรรมชาติแวดล้อมแล้ว เรายังควรไปพ้นจากการเป็นผู้บริโภคด้วย แทนที่จะคิดแต่ซื้อก็ลองทำเองบ้าง ช่วยกันทำบ้าง หรือแลกเปลี่ยนกันบ้าง”

อย่างไรก็ตาม จะทำเช่นนั้นได้ดี ผมจึงหยิบยกประเด็นที่ท่านพระไพศาล วิสาโล ได้เคยเขียนให้ไว้เป็นแนวทางในยุคบริโภคนิยมนี้ได้อย่างน่าคิดและกระทำ ซึ่งมีอย่างน้อย ๒ อย่างที่ควรทำไปด้วยกัน คือ

ประการแรกการ ฟื้นความสามารถในการพึ่งตนเอง ทุกวันนี้ความสามารถดังกล่าวของเราถูกบั่นทอนจนเราทำอะไรเป็นไม่กี่อย่าง ที่เหลือต้องใช้เงินซื้อเอาหมด แม้แต่การรักษาสุขภาพและดูแลตนเอง เราก็ทำไม่เป็น เจ็บป่วยก็ต้องพึ่งหมอสถานเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ คุณภาพชีวิตและความสุขของเราถูกฝากไว้กับท้องตลาดแทบสิ้นเชิง การฟื้นความสามารถในการพึ่งตนเองหมายถึงการเอาคุณภาพชีวิตและความสุขของเรากลับมาอยู่ในกำมือของตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณภาพชีวิตอันหมายถึง ปัจจัยสี่ สุขภาพ และการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถทำขึ้นเองได้แม้ไม่ทั้งหมด ส่วนความสุข เราทุกคนก็มีความสามารถที่จะสรรค์สร้างได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องใช้เงินซื้อหาหรือเข้าศูนย์การค้าเลย เช่น ความเพลิดเพลินกันในครอบครัว วาดรูป ตกแต่งสวน หรือทำสมาธิภาวนารวมกัน อุปสรรคที่ทำให้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในเมืองไม่สามารถพึ่งตนเองได้ก็คือ ไม่มีเวลา และไม่สะดวก แต่ถ้าเราใช้ชีวิตให้ช้าลง ไม่เร่งรีบบีบรัดตัว ตัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นออกไป ก็จะมีเวลามากขึ้น ส่วนความไม่สะดวกนั้นเป็นเพราะเราติดสบายและต้องการอะไรเร็วๆ การทำอาหารหรือปลูกผักเองจึงไม่สะดวกเท่ากับไปซื้อจากร้าน แต่ถ้าลองเปลี่ยนมุมมองใหม่ แทนที่จะถือเป็นภาระ ให้มองเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ ฝึกสมาธิจากการทำอย่างเนิบช้าไม่เร่งรัดหวังผลไม่นานความเพลิดเพลินจะมาแทนที่ความรู้สึกไม่สะดวกไปเอง อย่างไรก็ตามระบบบริโภคนิยมจะไม่ยอมให้เราพึ่งตนเองได้ง่ายๆ มันจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เรากลับไปเป็นนักช็อปปิ้งเหมือนเดิม เช่น ดูถูกดูแคลนการพึ่งตนเองว่าเป็นเรื่องถอยหลังเข้าคลอง ไม่โก้เก๋สมยุคโลกาภิวัตร หาไม่ก็ล่อหลอกด้วยการเสนอ “ทางลัด” หรือสิ่งสำเร็จรูปซึ่งถูกจริตคน

ประการที่สอง ต่อมาคือการฟื้นความสามารถในการพึ่งกันเอง แม้เราไม่สามารถพึ่งตนเองไปได้หมดทุกอย่างแต่การพึ่งพากันเองก็ช่วยทำให้เราเป็นอิสระจากระบบบริโภคนิยมได้มากขึ้น การพึ่งพาช่วยเหลือกันนั้นเป็นธรรมเนียมดั้งเดิมของไทยจนเกิดเป็นกลุ่มประเพณีมากมายหลายแบบ การรวมกลุ่มช่วยเหลือกันตลอดจนการรวมกันเป็นชุมชนนั้น สามารถให้สิ่งซึ่งความสัมพันธ์แบบผู้ซื้อ-ผู้ขายให้ไม่ได้ นั่นคือ ความเอื้อเฟื้อ ความเข้าอกเข้าใจ การมีส่วนร่วม การได้ใช้ศักยภาพในทางสร้างสรรค์ คุณค่าเหล่านี้คือสิ่งที่ชีวิตต้องการ ช่วยให้เกิดความงอกงามแก่จิตใจ และที่สำคัญคือทำให้เกิดความสุข เป็นเพราะคนทุกวันนี้ไม่ได้รับสิ่งดังกล่าว จึงรู้สึกพร่องในชีวิต และโหยหาไม่รู้จบ จนไปหลงติดอยู่กับคุณค่าอันฉาบฉวยที่ระบบบริโภคนิยมเสนอให้ ได้แก่ ความหลากหลายน่าตื่นเต้น ความเพลิดเพลินสะดวกสบาย อำนาจ สถานภาพ และเสรีภาพ คุณค่าทั้ง ๔ ประการนี้แหละ ที่เป็นเสน่ห์ของระบบบริโภคนิยมที่ดึงดูดให้ผู้คนยอมอยู่ในอำนาจของมันถึงจะเป็นคนหัวก้าวหน้าแต่ก็อยากใส่โรเล็กซ์ขี่เบนซ์เพราะมันเพิ่มสถานภาพทางสังคมให้สูงขึ้น ขณะที่เครื่องยนต์อันทันสมัยกลไกต่างๆ จะช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายแล้ว ยังทำให้รู้สึกว่าตนมีอำนาจในการควบคุมบางสิ่งบางอย่างได้มากขึ้น พร้อมกันนั้นความหลากหลายของสินค้าก็หนุนเสริมให้เกิดความรู้สึกว่าตนมีอิสรภาพในการเลือกทั้งๆ ที่เป็นแค่อิสรภาพจำแลงมาก็ตาม (โปรดดูใน พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต พระไพศาล วิสาโล ๒๕๔๖)

ตราบใดที่ผู้คนต่างยึดถือตนเองสำคัญมากกว่าส่วนร่วม ต่างก็ต้องแก่งแย่งกันอยู่ ก็ง่ายที่จะต้องมนต์เสน่ห์ของบริโภคนิยม แต่ถ้าผู้คนมารวมกลุ่มช่วยเหลือกันความสัมพันธ์ดังกล่าวจะช่วยให้เราได้รับสิ่งที่ลึกซึ้งกว่าที่บริโภคนิยมจะให้ได้ คุณค่าต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น อาทิ ความเอื้อเฟื้อ ความเข้าอกเข้าใจ

0 Comments:

Please Comments

Sponsored Links

Thaifossil.com      ”ของแปลกของหายาก      Menu Domain      Thai Cosmic

Text Link Ads